ปัจจุบันการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นแบบขั้นไดตามช่วงอายุ คือ
– อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
– อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
– อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
– อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท
การคำนวณอายุของผู้สูงอายุรายเดิม จะคำนวณตามปีงบประมาณ (การเลื่อนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดิมแบบขั้นบันไดจะเลื่อนตามปีงบประมาณ ไม่มีการเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในระหว่างปีงบประมาณ)
ซึ่งเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจำเดือนสิงหาคม 2567 จะได้รับในวันที่ 9 สิงหาคม 2567
สำหรับปฏิทินการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 2567 เงินเข้าวันไหน?
เงินผู้สูงอายุเดือนสิงหาคม เงินเข้าวันที่ 9 สิงหาคม 2567
เงินผู้สูงอายุเดือนกันยายน เงินเข้าวันที่ 10 กันยายน 2567
เงินผู้สูงอายุเดือนตุลาคม เงินเข้าวันที่ 10 ตุลาคม 2567
เงินผู้สูงอายุเดือนพฤศจิกายน เงินเข้าวันที่ 8 พฤศจิกายน 2567
เงินผู้สูงอายุเดือนธันวาคม เงินเข้าวันที่ 9 ธันวาคม 2567
เกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ
สัญชาติไทย
ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อายุ 60 ปีขึ้นไป ได้ยืนยันสิทธิขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด
ยังไม่มีการกำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจนเรื่องเกณฑ์การชี้วัดรายได้ที่ไม่เพียงพอ ให้ใช้ระเบียบการเบิกจ่ายฉบับเดิมไปก่อน จนกว่าจะมีการกำหนดคุณสมบัติอย่างชัดเจน
ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน
ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง
หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด
กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง (ต้องเตรียมเอกสารเพิ่ม)
หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
สถานที่การขึ้นทะเบียน
จุดบริการ ใน กทม. : สำนักงานเขต 50 เขต
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) : ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสำนักงาน
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม.โทร.0-2282-4196
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือเทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
ดังนั้น ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผ่านการลงทะเบียนมาก่อนหน้านี้แล้ว